จินตนาการดูว่า หากคุณถูกตัดขาดจากการสื่อสารระหว่างคุณกับคนที่คุณรักทุกคน…. คนที่คุณรักรอบตัวคุณกำลังคุยกัน แต่คุณไม่สามารถมีส่วนร่วมได้ อย่างน้อยก็ไม่เท่ากับที่คุณเคยทำได้…. หรือก็น่าจะดีเหมือนกัน ถ้าคุณอยู่แต่ในบ้าน มากกว่าที่จะออกไปทานอาหารในร้านที่มีเสียงดังแบบนั้น เพราะคุณรู้สึกเครียดที่จะต้องพยายามตั้งใจฟังในสิ่งที่เพื่อนของคุณกำลังคุยกัน.
เหตุการณ์เหล่านี้ เกิดขึ้นกับชีวิตผู้สูงอายุของเราในทุกๆ วัน 25% ของผู้ที่มีอายุ 60 ถึง 74 ปี มีภาวะหูตึงผู้สูงอายุที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป มีภาวะหูตึงถึง 50% แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่าส่วนใหญ่ของผู้สูงอายุกลุ่มนี้ไม่ใช้เครื่องช่วยฟัง และยิ่งไปกว่านั้น งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟัง มีเพียง 1 คน ใน 3 คนเท่านั้นที่ใส่เครื่องช่วยฟังเป็นประจำ
ผลกระทบด้านอารมณ์ต่อ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยิน หู
ถ้าคุณเป็นผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยิน คุณอาจไม่รู้ว่าในบรรดาความบกพร่องด้านประสาทสัมผัสทั้งหมด ความบกพร่องทางการได้ยินเป็นความบกพร่องเดียวที่ตัดคุณออกจากผู้คน ลำพังเพียงแค่ผลกระทบด้านอารมณ์อย่างเดียว ก็ทำให้เกิดผลกระทบด้านอื่นๆ ต่อมาได้อย่างมากมาย.”
ผลกระทบต่างๆ ที่เกิดกับผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีดังต่อไปนี้.-
- อาการซึมเศร้า
- เก็บตัว ปลีกตัวออกจากสังคม
- โดดเดี่ยว
- หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย ฉุนเฉียว
- ไม่ระวังในความปลอดภัยของตนเอง
- การทำงานของสมองเสื่อมถอยลง (cognitive decline)
- สุขภาพทรุดโทรม
ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยินแต่ไม่ได้ดูแลแก้ปัญหาพบว่ามีคุณภาพชีวิตต่ำกว่าผู้สูงอายุที่ไม่มีปัญหาการ
ได้ยินหรือผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยินและใส่เครื่องช่วยฟัง
.
ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยินแต่ปล่อยปละละเลย พบว่ามีคุณภาพชีวิตต่ำกว่าผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยินที่ใส่เครื่องช่วยฟัง หรือผู้สูงอายุที่ไม่มีปัญหาการได้ยิน ปัญหาด้านอารมณ์เป็นปัญหาใหญ่ เนื่องจากผู้คนทั่วไปมักมองผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินว่า “เชื่องช้า” “งุ่มง่าม” “สูญเสียความสามารถ” ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย ภาพทางลบดังกล่าวที่คนส่วนใหญ่คิดกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยิน ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกด้านลบต่อตนเอง เป็นลูกโซ่ต่อไปยังมีความภาคภูมิใจตนเองต่ำ ความคับข้องใจ และอาจพัฒนาไปสู่ภาวะซึมเศร้า.
สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยิน ไม่ได้เผชิญอยู่แค่ภาวะซึมเศร้า ความฉุนเฉียว และความคับข้องใจเท่านั้น ปัญหาการได้ยินที่เกิดกับผู้สูงอายุส่งผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออกของผู้สูงอายุและคนรอบข้างในทุกด้านของชีวิตด้วย .
ผู้สูงอายุมักสื่อสารกับคนในบ้านไม่รู้เรื่องจึงไม่เข้ามามีส่วนร่วมพูดคุยกันในครอบครัว ตำหนิทุกคนว่าพูดเบา เปิดโทรทัศน์ดังรบกวนคนอื่น สร้างความเครียดเกิดขึ้นในครอบครัว ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวไม่ราบรื่น เช่นสามีหรือภรรยาปฏิเสธการออกงานสังคมร่วมกัน เนื่องจากรู้สึกอายกับปัญหาการได้ยินของตน และฟังการสนทนาในงานไม่รู้เรื่อง ฯลฯ
ความเครียดเป็นส่วนหนึ่งที่ทุกคนต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน แต่สำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยินแล้ว ความเครียดจะกลายเป็นความท้าทายที่มากขึ้นอีกหลายเท่า ลองคิดดูว่าผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยินไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล จะมีความเครียดมากขึ้นเพียงใดเมื่อต้องพยายามฟังแพทย์อธิบายวิธีรักษา หรือให้คำแนะนำที่จำเป็นในการดูแลอาการป่วย ความเครียดจะเพิ่มขึ้นมากเพียงใดเมื่อต้องไปติดต่อธนาคาร หรือเดินทางไกล
เนื่องจากความบกพร่องทางการได้ยินที่เกิดกับผู้สูงอายุ มักเกิดขึ้นทีละน้อยตามอายุที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นส่วนใหญ่มักคิดว่าปัญหาการได้ยินมักมาคู่กับผู้สูงอายุอยู่แล้ว การสูญเสียการได้ยินแบบค่อยเป็นค่อยไปนี้ จึงทำให้ครอบครัวไม่ค่อยได้สังเกตและให้ความสำคัญดูแลแบบเร่งด่วน จากงานวิจัยพบว่าผู้สูงอายุใช้เวลาโดยเฉลี่ย 10 ปีจากครั้งแรกที่พบว่ามีปัญหาการได้ยิน จนถึงวันที่หาความช่วยเหลือ
ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังอินทิเม็กซ์
โทร: 02 279 3030
คุยเฟสบุ๊ค: m.me/intimexhearingaid
คุยไลน์: line ID : @intimex
— ประสาทหูเทียม อินทิเม็กซ์